วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

ทัศนีย์ครั้งที่ 7

Input Process Output
โรงงานน้ำตาล การสกัดน้ำอ้อย น้ำตาลทราย
เครื่องจักร การทำความสะอาดน้ำอ้อย กากน้ำตาล
วัตถุดิบ การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
แรงงาน การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก
เงินทุน การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
การอบ
การบรรจุถุง


        Input Process output ในมหาวิทยาลัย

อาจารย์ การจัดการเรียนการสอน นักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่จบปริญญา
สื่อการศึกษา การอบรม
นักศึกษา การลงทะเบียนเรียน
สภานศึกษา การบันทึกผล
หลักสูตร การฝึกงาน
เงินทุน หรือ งบประมาณ กิจกรรมส่งเสริมด้านต่างๆ คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น



...สื่อการสอน (Instruction Media)

        วาสนา ชาวหา ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี

...ความสำคัญของสื่อการสอน
        1. เป็นเครื่องมือช่วยสอน ผู้เรียนสามารถตามเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
        2. เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนจะใช้สื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        3. เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการสอน เปลี่ยนผู้สอนจาก "ผู้บอก" มาเป็น "ผู้จัดการและกำกับดูแล"
        4. เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพทางการศึกษา

...คุณค่า
        1. ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น
        2. ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมห้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
        3. สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
        4. สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้ดูเร็วขึ้น
        5. ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา
        6. ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นได้ชัด
        7. นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน
        8. นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้

...ประเภทของสื่อ

        1. Hardware สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ในวัสุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส (Overhead Projector) เครื่องเล่นเทป

        2. Software สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเอง จำแนกได้ 2 ลักษณะ
              2.1 วัสดุที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
              2.2 วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง  ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นเข้ามาช่วย เช่น แผ่นเสียง สไลด์ เป็นต้น

        3. Technique and Method หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเน้นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน เป็นสำคัญอาจจนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์มาช่วยในการสอนด้วยก็ได้


...สื่อการสอนในทางเทคโนโลยีการศึกษา

        หมายถึง ตัวกลางที่ทำให้ความเป็นนามธรรมเปลี่ยนเป็นรูปธรรม  ...สื่อกลางของการสื่อสารและกระบวนการเรียนการสอน


...เทคโนโลยีการศึกษา

        วิธีการที่เกิดประโยชน์
        เพื่อการถ่ายทอดข้อมูลความรู้


...ชแรมม์ ได้จำแนกสื่อตามความเก่าใหม่ของการเกิดเป็น 4 รุ่น ดังนี้

        1. รุ่นทวด ได้แก่ กระดานชอลค การสาธิต การแสดงละคร
        2. รุ่นปู่ ได้แก่ สื่อการสอนพวกตำราเรียน แบบทดสอบ เกิดขึ้นหลังปี ค.ศ. 1450
        3. รุ่นพ่อ ได้แก่ สื่อประเภท ภาพถ่าย สไลด์ ผิลม์สตริพ
        4. รุ่นปัจจุบัน


...สื่อเทคโนโลยีการศึกษา

        1. ส่อสามมิติ (Three Dimension Media) เช่น ของจริง (Realia) ของตัวอย่าง (Specimen) หุ่นจำลอง (Model) หุ่นตัดแบบ (Mock-Up)
        2. สื่อสองมิติ (Two Dimension Media) เช่น
              สื่อทึบแสง (Opaque Media) ได้แก่ รูปภาพ แผนภาพ แผนสถิติ ภาพโฆษณา แผนที่
              สื่อโปร่ง ได้แก่ แผ่นโปร่งใส สไลด์ ฟิล์มสตริพ (Filmstrip)
              สื่อโปร่งใสเคลื่อนไหว
        3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) เช่น เทปวิดิทัศน์ แผ่นวิดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นเสียง


...สื่อการสอน

Motion Media : Video Cassette Film
Text : Book and handouts
Audio : Radio Cassette
Object : ไม่ทันอ่ะ
Visuals : ไม่ทันอ่ะ

สื่อการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ : Digital Audio, Desktop publishing, Virtual Reality, Digital Video Interactive, CD-ROM


...แนวโน้มของสื่อและเทคโนโลยี

ขนาด : สื่อขนาดเล็ก

ระบบ : การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการับส่งข้อมูล

ทัศนีย์ครั้งที่ 6

System

ระบบประกอบด้วยส่วนประกอบที่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน

        กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน

        แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญ

        แต่ละองค์ประกอบจะประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน
A set of elements or components that interact to accomplish goals.
(Stair, Ralph M. 1996)

A group of interrlated or interacting elements forming a unified whole.

Example of system


ลักษณะของระบบเชิงกายภาพ

        ปัจจัยนำเข้า
        กระบวนการ
        ผลลัพธ์

Input > Process > Output


ประเภทของระบบ

1. ระบบปิด (Closed System)  ระบบที่โดดเดี่ยว ไม่มีการติดต่อกับระบบอื่นๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร


2. ระบบเปิด (Open System) ระบบที่มีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ เช่ ATM กดเงิน 5000 ออกมา 2000 ทำให้เราต้องติดต่อระบบที่ธนาคาร นั่นเอง

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556



ชั่วโมงที่ 5

ระดับการเรียนรู้ของ Bloom
1.       ความรู้ที่เกิดจากการจำ ( Knowledge )ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.       ความเข้าใจ( Comprehend )
3.       การประยุกต์ ( Application )
4.       วิเคราะห์ ( Analysis ) สามารถแก้ปัญหา
5.       การสังเคราะห์ ( Synthesis )
6.        การประเมินค่า ( Evaluation ) วัดได้

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Mayer
                การออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นสิ่งสำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
1.       พฤติกรรมควรชี้ชัดและวังเกตได้
2.       เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ ควรมีเงื่อนไขการช่วยเหลือ

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
1.       ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมด้วยประสบการณ์
2.       ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.       ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4.       ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.       ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6.       เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม

การเรียนรู้ตามทฤษฎีขิง Tylor
1.       ความต่อเนื่อง ( Continuity ) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่อง
2.       การจัดช่วงลำดับ ( Sequence ) หมายถึงการจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก
3.       บูรณาการ ( Integration ) หมายถึง การจัดประสบการณ์ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne
1.       การจูงใจ ( Motivation Phase )
2.       การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ( Apprehending Phase )
3.       การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase )
4.       ความสามารถในการจำ ( Retention Phase )
5.       ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว ( Recall Phase )
6.       การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว ( Generalization Phase )
7.       การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase )
8.       การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase )

Stimulus                    Sensation                  Perception
    สิ่งเร้า                           ประสาทสัมผัส                             การรับรู้

Learning                     Response                  Concept
เกิดการเรียนรู้                      การตอบสนอง                        การคิดรวบยอด

การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสทั้ง 5  แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดและมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่าเกิดการเรียนรู้

การรับรู้ ( Perception )
การรับรู้ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับการรับรู้จากสภาพแวดล้อมของตน และความสามารถในการแปลความหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ที่มีปริทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้ และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วย ประสารทสัมผัส และปัจจัยทางจิต ได้แก่ ความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติ เป็นต้น
หลักการรับรู้ในทางการศึกษาที่สำคัญ
1.       การรับรู้จะพัฒนาตามวัย และความสามารถทางสติปัญญาที่จะรับรู้สิ่งภายนอกอย่างถูกต้องและเหมาะสม
2.       การรับรู้โดยการเห็น จะก่อให้เกิดความเข้าใจดีกว่าการได้ยิน และประสาทสัมผัสอื่นๆ ดังนั้นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสมาก ก่อให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3.       ลักษณะและวิธีการรับรู้ของแต่ละคน จะแตกต่างกันตามพื้นฐานของบุคลิกภาพ และจะแสดงออกตามที่ได้รับรู้และเจตคติของเขา
4.       การเข้าใจผู้เรียนทั้งในด้าน

การถ่ายโยงการเรียนรู้ ( Transfer of Learning )
1.       ธอร์นไดค์ ( Thorndike ) กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งว่า สถานการณ์ทั้งสองจะต้องมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน คือ
2.       เกสตัลท์  ( Gestalt ) กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหา และรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้
1.       การถ่ายโยงการเรียนรู้ ควรจะต้องปลูกฝังความรู้ ความคิด เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
2.       ผู้สอนควรใช้วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวางซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้
3.       การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับ ความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอน จึงต้องคำนึงหลักการดังกล่าว
4.       การถ่ายโยงที่อาศัยสถานการณ์

การสื่อความหมาย ( Communication )
การสื่อความหมายเป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน  แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน การสื่อความหมายมีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Communis หรือ Communication
                การสื่อความหมายจึงเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่ง ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับ
                การสื่อความหมาย เป็นการส่งข่าวสารความคิดเห็นระหว่างบุคคล อาจส่งผ่านทางเสียง ทำให้เกิดการได้ยินจากอวัยวะการรับเสียง เช่น เสียงพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงลมพายุ หรือสิ่งที่ส่งออกมาเป็นภาพ เห็นด้วยตาเปล่า การเขียนเป็นหนังสือ รูปภาพ สัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณไฟ ท่าทางต่างๆ

โครงสร้างและกระบวนการสื่อความหมาย
                กระบวนการสื่อความหมายจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ต้องประกอบด้วยโครงสร้างและองค์ประกอบดังนนี้
1.       ผู้ส่ง  ( Source or Sender )คือแหล่งกำเนิดสาร หรือ บุคคลที่มีเจตนาจะส่งสารไปยังผู้รับ อาจเป็นคน สัตว์ องค์การ หรือหน่วยงาน
2.       สาร ( Message ) คือ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
3.       ช่องทาง ( Channel ) คือ ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการรับรู้สาร ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย โดยอาศัยสื่อต่างๆ เป็นพาหนะ เช่น รูป เสียง ความรู้สึกสัมผัส กลิ่น รส เป็นต้น
4.       ผู้รับ ( Receiver ) คือ บุคคล องค์การ หรือหน่วยงานที่รับรู้สารจากผู้ส่งสาร เข้าสู่ตนเองโดยผ่านช่องทางและสื่อต่างๆในข้อ 3

พจนานุกรมการศึกษาของคาร์เตอร์ วี กูด ( Carter V. Good ) ได้ให้ความหมายของการสื่อความหมายไว้ 3 ความหมาย
1.       วิธีส่งความคิดเห็นความรู้สึกจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยการแสดงท่าทาง สีหน้า การพูด การเขียน ใช้โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์และสัญญาณอื่นๆ
2.       การใช้เครื่องมือและกระบวนการ เทคนิคการพูด…..
3.       ….

การสื่อความหมายกับการเรียนการสอน
                การเรียนการสอนนั้นก็เป็นการสื่อความหมายอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้ คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหา
จุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการสื่อความหมาย
                จุดมุ่งหมายสำคัญในการเรียนการสอนก็คือ การพยายามสร้างความเข้าใจ ทักษะ

ปัญหาสำคัญในการถ่ายทอดความรู้
                จะทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างครูกับนักเรียนได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทำอย่างไรนักเรียนจึงเกิดการเรียนรู้ตามที่ครูได้ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ ครูจำเป็นต้องรู้จักการตระเตรียมและเลือกสรรในการสร้างกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการนำนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย หรือมีการเลือกสรรประสบการณ์ของนักเรียน เพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการนำนักเรียนไปสู้จุดมุ่งหมายปลายทางร่วมกันในที่สุด ครูจะต้แองรู้จัดเลือกและนำมาใช้


สรุปความสัมพันธ์ของการรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย
                จากที่กล่าวมาข้างต้นที่ว่า การเรียนรู้คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการปฏิบัติที่กระทำซ้ำๆ บ่อยๆ ซึ่งการที่มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ได้ก็ต้องมีการรับรู้ก่อนซึ่งเราสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เมื่อเราเกิดกระบวนการทั้งสองอย่างนี้แล้วก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ เนื้อหา สาระ ความรู้สึก นึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชั่วโมงที่ 4

           การเรียนรู้และการสื่อความหมาย

     เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคน ดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน

     ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์ คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด


                                  ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ

องค์ประกอบของการเรียนรู้
    1. แรงขับ (Drive)
    2. สิ่งเร้า (Stimulus)
    3. การตอบสนอง (Response)
    4. การเสริมแรง (Reinforcement)

     1. แรงขับ (Drive) คือ ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งแรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้กิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้

     2. สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคลแสดงการตอบสนองออกมา
     3. การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า

     4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ


                                   จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

     พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของบลูม และคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้

1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล

2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม

3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ


                                 ลำดับขั้นของการเรียนรู้

     ในการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ

1. ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2. ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือการสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3. ความนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้

     ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ชั่วโมงที่ 3
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้ว่านักเรียนจะล้นชั้น และการจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรม ซึ่งทำหน้าที่สอนซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจกแบบเรียนด้วยตนเอง ในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอน หรือสื่อ........
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่างๆของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
                ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงการศึกษาที่สำคัญ พอจะสรุปได้ 4 ประการดังนี้
1.       ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และความสารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
-           การเรียนแบบไม่แบ่งขั้น (Non-Graded School)
-           แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
-           เครื่องสอน (Teaching Machine)
-           การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
-           การจัดการโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-           คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2.       ความพร้อม (Readiness) เดิมมีชื่อเรียกกันว่า เด็กจะเริ่มเขียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกันระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด
-           ศูนย์การเรียน (Learning Center)
-           การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-           การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3.       การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ชาวงเวลาสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดการสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
                -  มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
                - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวมาถึงกันมากในปัจจุบัน

·         E-learning